สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการไปเที่ยวต่างประเทศก็คงจะไม่พ้นเงินตราของประเทศนั้นๆ ที่ทุกคนต้องพกไปเพื่อจับจ่ายใช้สอย ณ ประเทศปลายทาง โดยนัดแนะกันไปแลกเงินตามร้านรับแลก เพื่อพกเป็นเงินสดไว้ก่อนเดินทาง จะได้เยอะได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในวันนั้นๆ
ซึ่งสำหรับขาช้อปแล้ว บางทีก็ไม่สะดวกเอาซะเลย แถมการพกเงินเยอะๆก็ไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ การพก “บัตรเครดิต” จึงเป็นทางเลือกและสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถเพลิดเพลินกับการช้อปได้เต็มที่
แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจไว้ก่อนว่าในการรูดบัตรเครดิตนั้น นอกเหนือจากอัตราแลกเปลี่ยนที่บางทีอาจจะแพงกว่าการใช้เงินสดแล้ว
การคิดอัตราแลกเปลี่ยนก็แตกต่างจากเงินสดเพราะไม่ได้อิงอัตราของธนาคารแต่อิงจากอัตราของบริษัทที่เป็นตัวกลางในการชำระเงิน (VISA, Master Card, JCB, AMEX, and Union Pay) และบวกสิ่งที่เรียกว่า “ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน” ของแต่ละธนาคารเข้าไป ถึงจะได้มูลค่าที่เราต้องจ่ายจริง
เรามาเริ่มจากเรื่องค่าความเสี่ยงกันก่อน โดยปกติจะอยู่ที่ไม่เกิน 2-2.5% ของยอดค่าใช้จ่ายแล้วแต่ แต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนด (ข้อมูลอัพเดท 6 พ.ค. 62)
ผู้ออกบัตร | อัตราค่าความเสี่ยง |
KTC | ไม่เกิน 2.0% ของยอดค่าใช้จ่าย |
Thanachart | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
Citibank | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
KBank | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
SCB | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
Krungsri | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
UOB | ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย |
เว็บไซต์สำหรับเช็คอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละบัตร
Master card: https://www.mastercard.us/en-us/consumers/get-support/convert-currency.html
VISA: https://usa.visa.com/support/consumer/travel-support/exchange-rate-calculator.html
JCB: http://www.jcb.jp/rate/usd.html
Union Pay: https://www.unionpayintl.com/cardholderServ/serviceCenter/rate?language=en