Finance 101: P&L and BS relationship – Fixed Cost

เกริ่นกันไปแล้วกับการดูภาพรวม top-line และ bottom-line ของธุรกิจ วันนี้เรามาทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องของงบการเงินกันดีกว่า

ในบทความนี้เราจะพูดถึงผลกระทบของ Fixed Cost ในงบการเงินสองงบคือ

  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss / Income Statement)
  • งบดุลหรือเรียกอีกชื่อว่า งบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance Sheet)

ปกติแล้ว เวลาอ่านงบการเงินแยกไปทีละอันเพื่อดูผลการดำเนินงานของบริษัทในด้านต่างๆ ทีละงบ อาจทำให้เราเข้าใจไปว่า การที่บริษัทมีมูลค่าทางบัญชีในทรัพย์สิน (Asset) เยอะ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเรามองลึกลงไปถึงประเภทของทรัพย์สินที่บริษัทถืออยู่ และการได้มาของทรัพย์สินนั้น ก็จะทำให้เราเข้าใจสถานะทางการเงินของบริษัทได้มากขึ้น

**อ่านความรู้เกี่ยวกับ Fixed Cost ได้ที่ Understanding Fixed Cost and Variable Cost**

เวลามีการผลิตสินค้าออกมาชิ้นนึงนั้น ตัวเลขที่จะเกิดขึ้นใน P&L หากมีการขายสินค้าออกไปก็คือต้นทุนขาย (COGS) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Direct Material (Variable Cost) +
  • Direct Labor (Variable Cost) +
  • Overhead (Variable & Fixed Costs) =
  • Cost of Goods Sold **ถูกบันทึกต่อเมื่อมีการขายสินค้าออกไปเท่านั้น**

แต่หากสินค้านั้นถูกผลิตขึ้นมาและยังไม่ได้มีการขายออกไป มูลค่าของสินค้าที่ผลิตแล้วจะไม่ได้ถูกบันทึกลงใน P&L แต่จะไปโผล่ใน BS แทนและถูกบันทึกเป็น Inventory ใน Asset ของบริษัท ซึ่งหากดูเผินๆ ก็จะเหมือนบริษัทมีงบการเงินที่ดีเพราะถือสินทรัพย์อยู่เยอะ

InkedProblem w Fixed Cost

**ในการบันทึก COGS และ Inventory มูลค่าจะถูกคิดเป็นต่อชิ้นก่อน แล้วคูณกลับด้วยจำนวนที่มีอยู่**

คำถามต่อมาคือ แล้วต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) มีผลกระทบอย่างไรกับการที่มูลค่าของสินค้าที่ผลิตวิ่งไหลไปมาระหว่างสองงบการเงิน

จากรูปตัวอย่างด้านบน จะเห็นว่าในส่วนของ Overhead นั้นประกอบไปด้วย Variable และ Fixed Cost ดังนั้นมูลค่าของ Fixed Cost ที่เปลี่ยนไปย่อมส่งผลต่อ COGS และเนื่องจาก Fixed Cost ที่ถูกนำมาใช้ในทีนี้คือมูลค่าต่อชิ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นจำนวนสินค้าที่ถูกผลิตและจำหน่ายออกไป

ดังนั้นหากบริษัทมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อถัวเฉลี่ยมูลค่าของ Fixed Cost ต่อชิ้นให้มีต้นทุนที่ลดลง โดยสมมุติให้ว่าบริษัทมียอดขายเท่าเดิม หน้าตาของ P&L จะเปลี่ยนไปเป็น

FC Production Volume

จะเห็นได้ว่า Operating Income เพิ่มขึ้นมาแบบมากโข ทีนี้เรามาดูฝั่ง BS กันบ้างและเนื่องจากในเคสนี้ เราสมมุติว่ามีการขายสินค้าออกไปทั้งหมดเป็นจำนวน 300 ชิ้น หน้าตาของ BS ก็จะออกมาประมาณนี้

FC Inventory

เรียกว่า Inventory บวมกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเลยก็คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆในการเก็บสินค้าและหากสินค้าไม่สามารถขายได้ก่อนหมดอายุ ก็จำต้องมีการจ่ายค่าทำลายสินค้าออกไปอีก ทำให้แทนที่ธุรกิจจะสามารถนำเงินไปลงทุนเพื่อการเติบโต เงินก้อนนั้นกลับต้องมาจมอยู่ในคลังสินค้า

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s