ขั้นกว่าของ SWOT คือ TOWS Matrix

ถ้า SWOT Analysis คือการประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัท โดยดูจากปัจจัยภายใน (จุดแข็ง/จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส/อุปสรรค) TOWS Matrix ก็คือการนำสิ่งนั้นมาต่อยอดอีกที

เกริ่นกันซักหน่อยกับ SWOT Analysis ข้อดีคือทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงสถานการ์ปัจจุบันของบริษัท เพื่อใช้ในการปรับแผนกลยุทธ์ปัจจุบันหรือวางแผนกลยุทธ์ใหม่ต่อไป

ตาราง SWOT Analysis

SWOT Table
Image credit: ethosdebate

คำว่า TOWS ถ้าสังเกตุดูจะเห็นว่าผวนมาจากคำว่า SWOT เป็นการบอกโดยนัยว่าสองอย่างนี้เกี่ยวโยงกัน หรือก็คือ TOWS Matrix เป็นการนำปัจจัยที่ถูกวิเคราะห์แล้วจากตอนทำ SWOT มาจับคู่เพื่อใช้ในการสร้างกลยุทธ์

ตาราง TOWS Matrix

จากในตารางจะเห็นได้ว่าปัจจัยภายนอกและภายในถูกนำมาจับเพื่อสร้างกลยุทธ์แต่ละแบบได้แก่

  • กลยุทธ์เชิงรุก (SO): ใช้จุดแข็งเสริมโอกาสเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
  • กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO): ใช้โอกาสในการแก้ไขหรือกลบจุดอ่อนที่มี
  • กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST): ใช้จุดแข็งเพื่อป้องกัน, แก้ไข, หรือจัดการกับอุปสรรค
  • กลยุทธ์เชิงรับ (WT): หาวิธีการเสริมจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงอุปสรรค (ไม่ทำให้อะไรแย่ไปกว่าเดิม)

ตัวอย่างเช่น

กลยุทธ์เชิงรุก (SO)
บริษัทมีจุดแข็งคือขายขนมเพื่อสุขภาพคุณภาพดีและแบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแถบเอเชีย จากการสำรวจตลาด บริษัทพบว่ารัฐบาลยุโรปกำลังลดภาษีนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพเพราะต้องการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาดูแลตัวเองและบริโภคสินค้าสุขภาพกันมากขึ้น นอกจากนี้สินค้าประเภทขนมเพื่อสุขภาพก็มีผู้แข่งขันไม่เยอะเทียบกับความต้องการของตลาด

ดังนั้นกลยุทธ์เชิงรุกจึงเป็น การส่งสินค้าไปขายหรือไปลงทุนในตลาดยุโรปให้เร็วที่สุด โดยดูจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)
บริษัทมีจุดอ่อนคือสินค้าที่ผลิตมีต้นทุนสูงและมีกำลังการผลิตไม่มากเทียบกับความต้องการในตลาด โดยที่ล่าสุดมีข่าวว่าทางรัฐบาลจีนประกาศให้เงินสนับสนุนสำหรับผู้ที่ไปลงทุนในประเทศ พร้อมกันนั้นผู้บริโภคในจีนก็เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและหันมาบริโภคสินค้ากลุ่มนี้กันมากขึ้น

ดังนั้นกลยุทธ์เชิงแก้ไขจึงเป็น ทำการศึกษาสัญญาและคู่ค้าในจีนให้รอบครอบเพื่อประกอบการตัดสินใจไปลงทุน และเช็คแนวโน้มความต้องการของตลาดว่าจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆหรือแค่ในระยะสั้น

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST)
เนื่องจากมีการเปิดการค้าเสรี ทำให้การแข่งขันจากประเทศต่างๆหลังไหลเข้ามาภายในประเทศมากขึ้น แต่บริษัทก็เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดและมีฐานลูกค้าที่แน่นหนา

ดังนั้นกลยุทธ์เชิงป้องกันจึงเป็น พัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อนำหน้าคู่แข่ง พร้อมกันนั้นก็รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมผ่านกิจกรรมทางการตลาดต่างๆและสร้างฐานลูกค้าเพิ่มเติมโดยการออกสินค้าใหม่

กลยุทธ์เชิงรับ (WT)
บริษัทมีขนาดเล็กอยู่ในอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีเจ้าตลาดอยู่แล้ว ด้อยกว่าทั้งกำลังในการขยายตลาดและอำนาจการต่อรอง

ดังนั้นกลยุทธ์เชิงรับจึงเป็น การทำธุรกิจให้แตกต่างหรือล้อไปกับเจ้าใหญ่(เหาฉลาม) เช่น มีเจ้าใหญ่มาเปิดร้านข้างๆและขายสินค้าชิ้นเล็กให้ลูกค้า แทนที่เราจะมองเขาว่าเป็นคู่แข่ง ให้มองซะว่าเขาช่วยดึงลูกค้าเข้ามาและปรับการขายเป็นสินค้าแพคใหญ่เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าแทน ก็จะได้ประโยชน์ทั้งเรา เขา และลูกค้า

จะเห็นได้ว่าการใช้ TOWS Matrix นั้นทำให้เรามองลึกขึ้น ซึ่งการจะใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องนำข้อสรุปจากการวิเคราะห์อื่นๆมาช่วยในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s