Personal Finance: เริ่มต้นจัดสรรเงินในกระเป๋าฉบับมนุษย์เงินเดือน

PS-วิธีบริหารเงินออมและรายจ่าย

การบริหารเงินส่วนบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่ทั้งใกล้และไกลตัวไปในเวลาเดียวกัน ทั้งที่มันใกล้แค่เอื้อมเพราะเป็นเงินในกระเป๋าเราเอง ที่สามารถแบ่งสรรปันส่วนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร แต่กลับไกลทั้งในแง่วิธีบริหารและความรู้สึกว่าต้องเริ่มทำมันแล้วนะ

เริ่มกันง่ายๆกับหัวข้อหลักคือ 1) วิธีบริหารเงินออม และ 2) วิธีบริหารรายจ่าย

วิธีบริหารเงินออม

เวลาทุกคนจะออมเงิน ทุกวันนี้ทำยังไงกันบ้างคะ คนส่วนใหญ่คงจะใช้เงินไป แล้วเหลือเท่าไหร่ ค่อยให้ส่วนนั้นเป็นเงินออมเก็บเข้าบัญชี แบบนี้กันรึเปล่าคะ

วิธีนี้ก็อาจจะได้ผล หากเรามั่นใจว่าสามารถควบคุมรายจ่ายได้ ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับของเซลล์ในแต่ละเดือน ซึ่งบางทีมมันก็ยากเหลือเกิน ยิ่งเดี๋ยวนี้ที่โปรโมชั่นมาแบบจัดเต็มทุกรูปแบบทุกทาง

งั้นมาลองเปลี่ยนกันดูดีกว่า แทนที่จะใช้เงินไปแล้วเหลือค่อยเก็บ เรามาตัดเงินออมเก็บไว้ตั้งแต่ได้เงินเดือน แล้วค่อยใช้จ่ายในวงเงินที่เหลือหลังจากตัดเงินออมออกไปแล้ว ขอเรียกวิธีนี้ว่า ออมก่อนใช้ โดยสามารถ ทำได้ง่ายๆคือ

ตั้งว่าจะเก็บเงินเท่าไหร่ในแต่ละเดือน ซึ่งจะใช้เป็นจำนวนเงินหรือเป็นเปอร์เซ็น (%) ก็ได้ เอาเท่าที่เราเก็บแล้วสบายใจและไม่ลำบากตัวเองจนเกินไป หรืออาจจะดูจากว่าในอีกกี่ปี เราต้องการมีเงินเก็บเท่าไหร่ เพื่อแตกออกมาเป็นเงินที่ต้องเก็บในแต่ละเดือน จากนั้นทุกวันเงินเดือนออก ตั้งโอนอัติโนมัติเข้าบัญชีเงินออม หรือบัญชีเงินฝากประจำ **ต้องเก็บเป็นประจำเท่ากันทุกเดือน ห้ามขาด**

ออมแบบหยอดเศษเหรียญเหลือลงกระปุกทุกวัน เวลาเราไปซื้อของบางทีจะได้เงินทอนกลับมาเป็นเหรียญ ซึ่งพอเก็บเยอะๆมันก็ทั้งหนัก ทั้งทำกระเป๋าบวมเบาๆ ไหนๆแล้วกลับบ้านมา ก็หยอดมันลงกระปุกซะเลย ทั้งได้ออมเงินและช่วยให้กระเป๋าไม่บวมเกินไป

ออมโดยต้องจ่ายเงินค่าติด social media อันนี้อารมณ์ติดโซเชียลมากไม่หายซักที แล้วอยากพยามลดเวลาที่เสียกับการติดให้น้อยลง ให้ทำว่าการเล่นโซเชียลมีค่าใช้จ่าย ไม่ได้สามารถเล่นได้ฟรีๆ เช่นกำหนดวันนึงจะเล่นไม่เกินกี่ชั่วโมง ถ้าหากเกินกำหนดว่าต้องหยอดเงินลงกระปุกช.ม.ละกี่บาท ทีนี้เราก็ได้ทั้งฝึกลดอาการติดและออมเงินไปในตัว

ออมเงินตามวันที่ในปฏิทิน โดยการออมแบบนี้คือให้หยอดเงินเข้ากระปุกทุกวัน เป็นจำนวนเงินตามลำดับวันในปฏิทิน คือ

วันที่ 1 หยอด 1 บาท

วันที่ 2 หยอด 2 บาท

ไล่ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 365 หยอด 365 บาท

หากทำแบบนี้จนครบ 1 ปี เพื่อนๆจะมีเงินเก็บมากถึง 66,795 บาทเลยทีเดียว

365 money saving calendar

Credit: savingadvice.com, เพจเฟซบุ๊ก GLER

วิธีบริหารรายจ่าย

การบริหารรายจ่ายนั้น สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการออมเงิน ยิ่งเราบริหารได้ดี ก็สามารถทำให้เรามีเงินออมเยอะขึ้นและสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อยอดได้

หลังจากที่ตัดเงินออมออกไปแล้วตามด้านบน ได้เวลามาจัดการเงินก้อนที่เหลือกันต่อ

เริ่มโดย แบ่งรายจ่ายออกเป็นสัดส่วน

แบ่งเงินไว้สำหรับ รายจ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน / ทุกปี โดยอาจจะแยกเป็นประเภทค่าใช้จ่ายเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเดินทาง ฯลฯ ว่าแต่ละอย่างเท่าไหร่ หรือทำเป็นก้อนรวมว่าทุกเดือนมีเงินที่ต้องจ่ายออกไปแน่ๆเท่าไหร่ จากนั้นแยกเงินส่วนนี้ออกมาเตรียมไว้จ่ายตั้งแต่ต้นเดือน

จากนั้น กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน กดออกมาเป็นเงินสด แล้วแบ่งเงินเท่าจำนวนที่จะใช้แยกไว้เป็นรายวัน อาจจะใส่ถุงซิปล็อค, มัดหนังยาง, พับไว้รวมกัน, ใส่แยกช่อง, ฯลฯ และหยิบออกมาทีละวันเวลาใช้

สิ่งที่ยากสำหรับการกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันคือ กรณีที่มีบัตรเครดิต สำหรับกรณีนี้ แนะนำให้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สะดวกหน่อยคือใช้เป็นพวกแอพทำบัญชีรายรับรายจ่าย (Budget Application) โดยสามารถทำเป็น กระเป๋าหนึ่งใบในแอพ สำหรับบันทึกรวมค่าใช้จ่ายรายวันทั้งหมดไว้ในที่เดียวทั้งเงินสดและบัตรเครดิต และใส่รายละเอียดแยกเอาว่าใช้อะไรจ่าย

รายจ่ายต่อมาที่ควรแบ่งไว้คือ รายจ่ายเพื่ออนาคต ส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะเป็นพวกการลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ในสินทรัพย์, หุ้น, กองทุน, ประกัน, และตราสารต่างๆ รวมไปถึงการลงทุนในความรู้ เป็นรายจ่ายที่จ่ายออกไปเพื่อผลตอบแทนในอนาคต สำหรับกลุ่มนี้ ควรเป็นเงินเหลือจากการออมและศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจนะคะ

สูตรบริหารเงินออมและรายจ่าย

(รายได้-เงินออม[1])-รายจ่ายประจำ-ค่าใช้จ่ายรายวัน = เงินออม[2+1]-รายจ่ายเพื่ออนาคต = เงินเก็บ

PF-สูตรบริหารเงินออมและรายจ่าย

จะเห็นได้ว่าการออมเงินและบริหารรายจ่ายนั้น เป็นสิ่งที่ง่ายและใกล้ตัว แค่เพียงเรามีวินัย อดทนทำไปซักพัก จากที่รู้สึกฝืน เราจะเริ่มชินกับมันและเห็นความแตกต่างของเงินในกระเป๋ามากขึ้นเรื่อยๆ

เกร็ดความรู้อย่างนึงของเงินก็คือ มันสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยล้อไปกับระยะเวลา

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s